วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง หลายคนได้ยินอยู่บ่อยๆ แต่แท้จริงแล้ว "เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง อะไร ?" เรามาทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องชัดเจนกันดีกว่า

เศรษกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางเพื่อการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย โดยได้ชี้แนะพสกนิกรเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมายาวนานกว่า 30 ปี โดยเฉพาะในการที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 พระองค์ก็ทรงยิ่งเน้นย้ำแนวทางนี้ เพื่อให้พสกนิกรสามารถที่จะแก้ไขปัญหา และอยู่ได้อย่างมั่นคงยั่งยืนภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2517 เอาไว้ว่า :- 

" ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือ ความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่นคงพอควรแล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ "

นอกจากพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ไว้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว พระองค์ยังทรงได้ให้พระราชดำรัสเอาไว้ในวารสารชัพพัฒนาอีกว่า :- 

" เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต และรากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนอาคารเอาไว้นั้นเอง และสิ่งก่อสร้างจะมั่นคงอยู่ได้ก็ขึ้นอยู่ที่เสาเข็ม "

และในช่วงที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจตอนปีพุทธศักราช 2540 พระองค์ก็ได้ทรงเน้นย้ำเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในพระราชดำรัสของพระองค์อีกว่า :- 

" การเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า พอเพียงกับตัวเอง "

หลักเศรษฐกิจพอเพียง นั้นเป็นทางสายกลาง กล่าวคือ เป็นเศรษฐกิจแบบพอประมาณ ไม่ใช่อดอยากขาดแคลน ใช้จ่ายอย่างมีเหตุมีแผล มีน้อยใช้น้อยไม่ฟุ่มเฟือย มีมากก็ต้องรู้จักเก็บออมเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น และต้องรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลและแบ่งปันกัน ส่วนในระดับของการพัฒนาประเทศ ก็ควรใช้ซึ่งหลักการดังกล่าว พัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและมีคุณธรรม ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาที่มั่นคงยั่งยืน ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง มีเหตุมีผลในการใช้จ่ายที่เหมาะสม หากทำได้เช่นนี้ก็จะสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับตนเองและประเทศชาติ

เศรษฐกิจพอเพียง มิได้หมายความว่า ต้องทำกิน ทำใช้ ทำเองไปซะเสียทุกอย่าง อะไรที่ทำได้เองก็ทำ อะไรทำไม่ได้ก็ให้คนอื่นทำ แต่จะต้องมีการบริการจัดการที่ดี เริ่มจากการพึ่งตนเองในระดับครอบครัวและไปสู่ชุมชนเครือข่าย ทำงานเป็นองค์กรชุมชม เป็นสหกรณ์ และไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงระดับชาติ จากเศรษฐกิจพื้นบ้านไปสู่เศรษฐกิจแบบก้าวหน้า ทำธุรกิจการค้าอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันได้อย่างมั่นคง

เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่การถอยหลังกลับไปอยู่ในยุคโบราณ ไม่ใช่การที่ผู้คนต้องหากินอยู่กับธรรมชาติเหมือนแต่ก่อน ไม่มีการสะสม ซึ่งมันเป็นไม่ได้อยู่แล้วในปัจจุบัน เพราะสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างสิ้นเชิงและอีกอย่างทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ก็หมดไป ไม่มีเหมือนในอดีต มนุษย์ก็มีมากขึ้น ดังนั้นมันจึงไม่มีทางเป็นไปได้ว่า จะใช้ชีวิตอยู่เหมือนกับยุคโบราณ ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่ใช่เรื่องของการถอยหลังสู่ยุคโบราณ แต่เศรษฐกิจพอเพียง คือ การสืบทอดคุณค่าของอดีต ที่มนุษย์สามารถจัดการชีวิตและพึ่งพาตนเองได้ มิใช่เอาแต่พึ่งพาสิ่งอื่นอยู่ตลอด เหมือนอย่างกับที่มนุษย์บางคนในปัจจุบันกำลังทำ

ที่มาhttp://gotensum.blogspot.com//2015/03/what-is-sufficient-economy.html

ซอฟต์แวร์

ซอฟแวร์
ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่จะสั่งและควบคุมให้ฮาร์ดแวร็คอมพิวเตอร์ทำงาน เราไม่สามารถจับต้อง ซอฟต์แวร์ ได้โดยตรงเหมือนกับตัวฮาร์ดแวร์ เพราะซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ในสื่อ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น แผ่นดิสก์ ซอฟต์แวร์ ที่มักติดตั้งไว้ในฮาร์ดดิสก์เพื่อทำงานทันที่ที่เปิดเครื่องคือ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ สรุปแล้ว ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมชุดคำสั่งไว้ควบคมคอมฯให้ทำงาน

ชนิดของซอฟต์แวร์

1.  ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูปโดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่นการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
- โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ กล่าวโดยสรุปคือ หากจะทำงานใดงานหนึ่งโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงานแล้วจะต้องติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบก่อน ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ DOS Unix Windows (เวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น 95 98 me 2000 NT) Sun OS/2 Warp Netware และ Linux
ซอฟแวร์
- ตัวแปลภาษาจาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์ใจให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อนแล้วทำการลิ้ง (Link) เพื่อให้ได้คำส่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่งแล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้นจะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา (Java) ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษา SQL ภาษา HTML เป็นต้น
- ยูทิลิตี้โปรแกรม (Utility Program) คือ ซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้น โปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่โปรแกรม Norton WinZip Scan virus Sidekick Scandisk Screen Saver ฯลฯ เป็นต้น
- ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่า ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setup และ Driver ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Setup Windows Setup Microsoft Office โปรแกรม Driver Sound Driver CD-ROM Driver Printer Driver Scanner ฯลฯ เป็นต้น
2.  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะด้านหรือเฉพาะองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ หรือออกแบบและสร้างโดยบุคลากรในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ ต้องมีทีมงานในการดำเนินการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานอย่างรอบคอบ เมื่อออบแบบระบบงานใหม่ได้แล้ว จึงลงมือสร้างโปรแกรมจนเสร็จ แล้วทำงการทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องแน่นอน จนสามารถทำงานได้จริง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านงานบุคลากร ซอฟต์แวร์ระบบงานบัญชี ซอฟต์แวร์ระบบสินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ของการรถไฟ ซอฟต์แวร์ของธุรกิจธนาคาร ซอฟต์แวร์ของธุรกิจประกันภัย ซอฟต์แวร์ของการบินไทย ซอฟต์แวร์บริหารการศึกษาเป็นต้น
3.  โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Software) คือ ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในสำนักงานทั่ว ๆ ไป สร้างโดยบริษัทที่มีความชำนาญในด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะมีการปรับปรุงรุ่น (Version) ของซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธภาพสูงขึ้นอยู่เสมอ สามารถแบ่งออกเป็นประเภท ตามลักษณะหน้าที่การทำงานได้ดังนี้คือ
- โปรแกรมประมวลผลคำ ใช้สำหรับพิมพ์เอกสารรายงานหรือสร้างตารางแบบต่าง ๆ
- โปรแกรมตารางงาน ใช้สำหรับคำนวณ สร้างกราฟ และจัดการด้านฐานข้อมูล
- โปรแกรมนำเสนอผลงาน ใช้ในการนำเสนอผลงานและนำเสนอข้อมูลในรูแปบบสไลด
- โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูล
- โปรแกรมเว็บเพจ ใช้ในการเขียนเว็บเพจเพื่อใช้งานในเว็บไซต์ของอินเทอร์เน็ต
- โปรแกรมสื่อสารระยะไกล ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต
- โปรแกรมเขียนแบบ ใช้ในการออกแบบและเขียนแบบด้านต่าง ๆ เช่น ชิ้นงาน อาคาร
- โปรแกรมการฟิกส์ ใช้ในการสร้างและจัดการรูปภาพในคอมพิวเตอร์
- โปรแกรมเพื่อความบันเทิง ได้แก่ เกมส์ ภาพยนต์และเสียงเพลงต่าง ๆ
สรุปแล้ว ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมชุดคำสั่งไว้ควบคมคอมฯให้ทำงาน นั่นเองครับ

ที่มาhttp://www.dekdev.com//ซอฟต์แวร์-software-คืออะไร-2662012/